สุขภาพจิตประกอบไปด้วยสุขภาวะทางอารมณ์ ทางกาย และการอยู่ร่วมกันด้วยดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อวิธีคิด ความรู้สึก การกระทำ การตัดสินใจ และความสัมพันธ์กับผู้อื่น สุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและทำให้ตนเองมีความสุขได้ ในปัจจุบันเราต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เสียสุขภาพจิตได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตให้ดีจะช่วยให้จัดการกับความเครียดและไม่มีปัญหาทางจิตมากวนใจ สำหรับใครที่อยากมีสุขภาพจิตดีในทุก ๆ วัน ต้องไม่พลาด 5 วิธีการดูแลสุขภาพจิต เริ่มทำได้เลยตั้งแต่วันนี้!
การดูแลสุขภาพจิต คือการรักษาสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ให้ดี เพื่อพัฒนาความสุขและความสนุกสนานในชีวิต อีกทั้งการดูแลสุขภาพจิตยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ช่วยจัดการกับความเครียดและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งการให้ความสำคัญแก่การพักผ่อนและการฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้า สามารถสร้างความสุขในชีวิตของเราได้เช่นกัน
การดูแลสุขภาพจิตสามารถช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีและไม่มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตตามมา โดยอาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทและมีความรุนแรงต่างกันไป เช่น
อาการทางร่างกาย
เมื่อเกิดความเครียดในจิตใจ ระบบประสาทในร่างกาย เช่น หัวใจ เส้นเลือด ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ และกระเพาะปัสสาวะ จะถูกกระตุ้นให้ทำงานเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
อาการทางอารมณ์
ความเครียดสามารถส่งผลให้จิตใจรู้สึกวิตกกังวล เช่น รู้สึกกลัว ตื่นเต้น ไม่สบายใจ มีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อ หงุดหงิดง่าย ไม่สนุกสนาน ร่างกายไม่สดชื่นร่าเริง โดยอาการซึมเศร้าอาจมีสาเหตุมาจากความสูญเสียหรือผิดหวังอย่างรุนแรง อาการไม่สบายใจเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้ เช่น เบื่ออาหาร ปัญหาการนอนหลับ ความเหนื่อยล้า และความเหนื่อยง่าย
อาการทางจิตใจ
สามารถเปลี่ยนแปลงตามอารมณ์ อาจจะมีความคิดที่ไม่ดี เช่น คิดทำร้ายตนเอง มีความกังวล คิดมาก คิดวนซ้ำ ๆ และไม่สามารถหยุดความคิดดังกล่าวได้ จนทำให้มองตนเองในแง่ที่ไม่ดี รวมไปถึงมองคนอื่นและมองโลกในแง่ร้าย หากความเครียดสะสมปริมาณมาก อาจทำให้สมองเบลอ ขาดสมาธิ ความคิดความอ่านและความจำลดลง ลังเลตัดสินใจช้า และไม่มั่นใจในตนเอง
พฤติกรรม
สามารถแสดงออกเป็นการหลบหนี กลัว ขาดความรับผิดชอบ และไม่กล้าแสดงออกหรือทำตัวผิดปกติ
โดยคนไทยป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรก ดังต่อไปนี้
โรคที่มีอารมณ์เศร้าลงและขาดแรงในการทำกิจวัตรประจำวัน อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้รวมถึงความหดหู่ สูญเสียความสนใจ และปัญหาในการนอนหรืออาหาร
โรคที่มีอาการขาดสติ ความคิดผิดปกติ และการรับรู้เหตุการณ์ที่ผิดปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการทางการจิตอื่น ๆ เช่น การได้ยินเสียงหรือความคิดผิดปกติ
โรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของความกังวล ผู้ป่วยอาจมีอาการหวาดกลัว กลัวสิ่งต่าง ๆ หรือมีอารมณ์ตึงเครียดเป็นระยะเวลานาน
โรคที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเสพติด เช่น ยาเสพติด แอลกอฮอล์ หรือสารต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตเวช
ผู้ป่วยเป็นโรคนี้มักมีอาการของอารมณ์แปรปรวนระหว่างอารมณ์บรรเทา และอารมณ์ตึงเครียด โดยผู้ป่วยอาจมีรู้สีกมีความมีความสุขในบางช่วง แล้วอยู่ดีๆ ก็มีอารมณ์เศร้าและเครียดขึ้นมา
จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิตพบว่าคนในช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและป่วยจิตเวชอยู่ถึง 11.5 % ทั้งนี้มีจำนวนผู้ป่วยถึง 500,000 คนส่วนใหญ่มักเล่าว่าเกิดจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทาง และทำให้เกิดความเครียดสะสม ดังนั้นเพื่อการดูแลสุขภาพจิตใจของตนเองให้แข็งแรงและผ่อนคลายความเครียด ในหัวข้อนี้เราได้นำวิธีดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้นมาฝากกัน
การออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพจิตที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตใจอีกด้วย การเคลื่อนไหวของร่างกายจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้การนอนหลับของเราดีขึ้น และรู้สึกสดชื่นแจ่มใสอย่างเต็มอิ่ม
การฟังเพลงที่ชอบเป็นวิธีการดูแลสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายและหลุดจากความเครียด โดยการฟังเพลงยังสามารถทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ เพราะว่าเพลงเป็นศิลปะความบันเทิงประเภทหนึ่งที่สร้างความสบายใจแก่เรา นอกจากนี้การฟังเพลงยังช่วยให้ความจำของเราดีขึ้น เมื่อเรามีอารมณ์ร่วมกับการฟังเพลงและร้องเพลงตามไปด้วย จะช่วยให้เรามีสมาธิสามารถปะติดปะต่อเนื้อเพลงท่อนถัดไปได้ ดังนั้นการฟังเพลงจึงเป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งเลย
ไม่มีใครสามารถรักเราได้เท่ากับตัวเราเอง ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการสร้างและให้กำลังใจกับตนเองเป็นการดูแลสุขภาพจิตที่ทุกคนควรทำ โดยไม่ว่าจะพบเจออุปสรรคมากเพียงใดก็ตาม เราควรคิดอยู่เสมอว่าชีวิตของเรายังมีวันพรุ่งนี้ เพราะเราอาจเจอกับคนอื่นที่อาจพบเจอปัญหาเดียวกันหรือรุนแรงกว่าเราเองก็ได้ ดังนั้นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่จะไม่ให้จิตใจเราห่อเหี่ยวหรือหดหู่ คือการรักษาใจตัวเองอย่างเต็มที่และให้กำลังใจตัวเอง
เมื่อเราเก็บหลายเรื่องที่แย่ ๆ ไว้ในใจอาจทำให้เราไม่สบายใจและหมดความอดทนต่อสิ่ง ๆ นั้น ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือควรปล่อยวางให้เป็นไปตามธรรมชาติ และไม่ควรเก็บเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มาให้กวนใจ ควรปล่อยให้มันผ่านไปหรือปล่อยมันระบายออกมาบ้าง หรือจะใช้วิธีการพูดคุยกับเพื่อนและคนในครอบครัวก็ทำได้เช่นกัน การร้องไห้ก็เป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่สามารถลดความเครียดที่เกิดขึ้นจากในตัวเราได้เช่นกัน
ถ้าคุณมีเวลาว่างในวันหยุด เราแนะนำให้คุณออกไปพบสิ่งใหม่ ๆ บ้าง นี่เป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตที่สามารถให้เวลาแก่ตัวเองไปผ่อนคลายความเครียดที่มาจากการทำงานหรือเหตุการณ์ที่ไม่ดีที่ผ่านมาในช่วงสัปดาห์ เช่น หลายคนบอกว่าเมื่อรู้สึกหดหู่ ควรไปทะเลหรือเที่ยวกับเพื่อน หากคุณต้องการความโรแมนติกก็ควรพาแฟนไปเที่ยวทะเล เป็นต้น ดังนั้นถ้ามีเวลาว่างควรพาตัวเองไปชื่นชมความงดงามของธรรมชาติ เช่น ทะเลที่กว้างใหญ่ ภูเขา น้ำตก หรือให้เวลาแก่ตัวเองโดยการฝึกสมาธิ เพราะจะช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตที่สงบและแข็งแรงขึ้นได้ค่ะ
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปพร้อม ๆ กันเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าต้องการดูแลสุขภาพจิตให้ดีจำเป็นต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก โดยคุณสามารถนำ 5 วิธีดูแลสุขภาพจิตนี้ไปใช้เพื่อดูแลจิตใจของตัวเองให้มีความสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก :
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์
Copyright All Reseve 2022 Cooperative Technology Transfer and Development Office
Picture Icons & Symbols จากเว็บไซต์ Pixabay.com, Freepik.com, Flation.com, Canva.com