ดาวน์โหลด Info ประกอบบทความ | |
ดาวน์โหลดบทความ |
ข่าว (NEWS) คือ รายงานข้อเท็จจริง เหตุการณ์ รวมถึงความคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคมและมีผลกระทบกับผู้คนในวงกว้าง แต่สำหรับนักประชาสัมพันธ์ ข่าวคือการกระจายข้อมูลข่าวสาร ภารกิจ ความก้าวหน้าของหน่วยงานเผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบ การเขียนข่าวจำเป็นจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ควบคู่กับเทคนิค เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสถาบันให้เกิดแก่กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมาย สร้างภาพลักษณ์นําไปสู่ความร่วมมือ และความศรัทธาต่อองค์กร หรือการบริการขององค์กรในที่สุด
สิ่งหนึ่งที่นักประชาสัมพันธ์จะต้องทราบและจดจำให้ดี ก็คือ หัวใจและองค์ประกอบสำคัญของข่าว ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ข่าว (News) คือ เหตุการณ์ (Event) ความคิด (Ideas) ความคิดเห็น (Opinion) อันเป็นข้อเท็จจริง (Fact) ที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมารายงาน (Reporting) ผ่านทาง ช่องทางสื่อ (Media) ที่เป็นทางการ (Formal) แต่แม้ว่าข่าวของเราจะมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วนตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็ใช่ว่าข่าวจะเป็นข่าวที่สมบูรณ์ สิ่งที่จะเป็นข่าวได้นั้นจะต้องมีลักษณะตามที่จะกล่าวนี้ประกอบกันด้วย
สิ่งที่จะเป็นข่าว (Element of News)
ลักษณะของสิ่งที่จะเป็นข่าวได้ตามทฤษฎีพื้นฐานของข่าวข้างต้น พอที่จะนํามาประยุกต์เป็นแนวทางในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้
สิ่งสำคัญที่นักประชาสัมพันธ์จะต้องทราบอีกประการหนึ่งก็คือ “สิ่งสําคัญในการเขียนข่าว” และ “ข้อควรระวังในการเขียนข่าว” สำหรับสิ่งสำคัญในการเขียนข่าวนั้น นักประชาสัมพันธ์ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เราคือสารตั้งต้น แหล่งข้อมูล ผู้ป้อนข้อมูลข่าวสารออกสู่สาธารณะ ดังนั้นเราจะต้องมีความรับผิดชอบต่อข่าวที่เราจะเขียน รับผิดชอบต่อผู้อ่านข่าวสารของเรา ข่าวที่เราเขียนจึงจะต้องเป็นข่าวที่เสนอข้อเท็จจริงอย่างเที่ยงตรง ไม่บิดเบือนสาระสำคัญของข่าวจนทำให้เกิดความสับสน และในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งความเร่งรีบ เวลาของแต่ละคนนั้นนับว่ามีค่า ข่าวจึงต้องเป็นข่าวที่ชัดเจน กระชับ ไม่เวิ่นเว้อ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถรับข่าวสารได้อย่างครบถ้วนภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว นักประชาสัมพันธ์เองก็ต้องเขียนข่าวอย่างปราศจากอคติ เขียนข่าวตามข้อมูลที่ตัวเองมีโดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเอง หรือเพิ่มเติมเนื้อหาให้มากเกินไปจนผิดประเด็น สุดท้ายตัวนักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความเชี่ยวชาญ ละเอียด เข้าใจประเด็นอย่างถ่องแท้ด้วยถึงจะสามารถเขียนข่าวออกมาได้
เมื่อทราบสิ่งสำคัญในการเขียนข่าวแล้ว ข้อควรระวังก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องทราบเช่นกัน สิ่งที่มีผลกระทบในวงกว้างและมีความอ่อนไหวหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเขียนในข่าวอย่างเด็ดขาด แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องเขียน ก็ควรจะตรวจสอบความถูกต้องให้แน่ชัด รวมถึงชั่งน้ำหนักผลกระทบที่จะตามมาก่อนนำมาเขียนให้ดี ทั้งนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงไว้จะดีที่สุด ผู้เขียนขอแนะนำให้ผู้อ่านจำข้อควรระวังในการเขียนข่าวด้วยหลัก 4R ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
กล่าวโดยสรุป ข่าวเพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ (Press Release) ก็คือ ข่าวที่สร้างผลลัพธ์ในเชิงบวกให้กับหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสำเร็จ ภารกิจ ความก้าวหน้า หรือกิจกรรมต่าง ๆ เผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบตวามเคลื่อนไหวหน่วยงานของตน โดยข่าวจะต้องเป็น เหตุการณ์ ความคิด ความคิดเห็น อันเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมารายงาน ผ่านทางช่องทางสื่อเป็นทางการ ข่าวจะต้องมีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ มีความเด่น เป็นที่พูดถึงอยู่ในแวดวงสังคมในขณะนั้น ผู้เขียนข่าวจะต้องมีความรับผิดชอบต่อข่าวที่เขียน ต่อสังคม และต่อผู้อ่าน และจะต้องเขียนข่าวอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลความเป็นจริง ไม่แต่งเติมหรือแสดงความเห็นที่มากจนเกินไป รวมถึงจะต้องระมัดระวังการเขียนข่าวที่มีประเด็นอ่อนไหวด้วย
บทความและ Info ประกอบโดย : นายวัชรพล ขิขุนทด นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
อ้างอิงข้อมูล : 1.การเขียนข่าวและจัดทำภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดย นางวรรณภา สุวรรณพงษ์ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://ga.kpru.ac.th/pdf/m012.pdf
2.เทคนิคการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_0433753384.pdf
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์
Copyright All Reseve 2022 Cooperative Technology Transfer and Development Office
Picture Icons & Symbols จากเว็บไซต์ Pixabay.com, Freepik.com, Flation.com, Canva.com