สภาพแวดล้อมการทำงานที่น่าอยู่เป็นส่วนสำคัญสำหรับการสร้างทีมในปัจจุบัน และส่งผลทั้งกับวัฒนธรรมองค์กรเองและประสบการณ์ที่พนักงานจะได้รับด้วย การสร้างทีมนั้นเปรียบได้กับถนนที่มีทั้งไปและกลับ ในทางหนึ่งบริษัทตัดสินใจจ้างเพราะพนักงานมีความสามารถและประสบการณ์ที่บริษัทมองหา และในอีกแง่มุมก็คือบริษัทเองก็ต้องพยายามจูงใจพนักงานผ่านทางผลตอบแทน และเรื่องอื่น ๆ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีนั้นจึงมีส่วนช่วยเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้พนักงานรู้สึกรักและผูกพันในองค์กรมากยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
เราคงคุ้นชินกันดีกับการที่คนรอบข้างบ่นให้ฟังว่าสภาพแวดล้อมที่ทำงานนั้นแย่ขนาดไหน จนทำให้เค้าหรือเธอคนนั้นทนไม่ไหวที่จะต้องหางานใหม่เลยทีเดียว และคนทำงานในปัจจุบันนั้นก็พิจารณาในหลายๆส่วนก่อนที่จะตกลงปลงใจกับองค์กรและพร้อมจะก้าวเดินไปด้วยกัน บริษัทเองนั้นก็ไม่อาจจะรั้งคนไว้ด้วยด้วยผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องตอบควบคู่ไปกับสิ่งอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีนั้นจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีส่วนช่วยในเรื่องของ retention พนักงานได้มากจริง ๆ ลองมาดูกันเลยดีกว่าว่าวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่าอยู่จะทำได้อย่างไรบ้าง
เมื่อพูดถึงสภาพแวดล้อมการทำงานสิ่งแรกที่ต้องพูดถึงเลยก็คือเรื่องของสภาพที่ทำงานที่ทุกคนต้องใช้อยู่ทุกวัน คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจริง ๆ แล้วเราต้องใช้เวลาถึง 1 ใน 3 อยู่ในที่ทำงานและหากที่ทำงานมีสภาพที่ไม่น่าอยู่แล้วล่ะก็จะส่งผลกระทบอย่างนานอน ดังนั้นแล้วขั้นตอนแรกของการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่นั้นคือทำสถานที่ให้น่าอยู่ โดยสิ่งที่ควรพิจารณาจะมีดังต่อไปนี้
นอกจากในข้อแรกเรื่องสถานที่ทำงานแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่คนในที่ทำงานต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการพูดคุยสื่อสารกับคนอื่นในองค์กร และองค์กรนั้นก็คงจะเป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วยไม่ได้ หากการสื่อสารในองค์กรเต็มไปด้วยคำด่าทอและความรู้สึกด้านลบที่พร้อมก่อตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแล้วคุณควรต้องทำให้มั่นใจว่าทุกคนรู้ว่าองค์กรไม่สนับสนุนพฤติกรรมเช่นนั้น และส่งเสริมในเรื่องการสื่อสารกันในแง่บวก วิธีการพูดและน้ำเสียงที่ใช้ในการพูดคุยกัน รวมไปถึงวิธิการที่หัวหน้าสื่อสารกับคนในทีม นอกจากนั้นแล้วองค์กรเองก็ยังสามารถส่งเสริมในเรื่องอื่น ๆ เช่น การให้หัวหน้างานจัดพูดคุยแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับคนในทีมเป็นประจำ การที่ผู้บริหารหมั่นลงมาสื่อสารกับคนในองค์กรทุกระดับ ก็จะช่วยให้วัฒนธรรมการสื่อสารในองค์กรนั้นเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
สภาพแวดล้อมที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของภายนอกอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงเรื่องภายในอย่างจิตใจของพนักงานด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วต้องทำให้มั่นใจว่าพนักงานจะรู้สึกมีความสุขในการใช้เวลาในออฟฟิศ สาเหตุหลัก ๆ ที่สำคัญที่ทำให้สุขภาพจิตของพนักงานแย่ลง หลัก ๆ นั้นมาได้จากหลายทางมาก เช่น
จะเห็นได้ว่านอกจากในข้อสุดท้ายแล้วนั้น บริษัทสามารถมีส่วนช่วยในการทำให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นได้ ลองดูว่านโยบายของบริษัทข้อไหนที่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นนี้ตามมาบ้างหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้วพนักงานจะทำงานออกมาได้ประสิทธิภาพดีที่สุด เมื่อความเครียดอยู่ในระดับที่พอเหมาะ
นอกเหนือจากทั้ง 3 สิ่งที่กล่าวไปแล้ว ทุกคนในองค์กรนั้นล้วนอยากจะเห็นการเติบโตในสายงานของตนเองอย่างแน่นอน คงไม่ดีแน่หากพนักงานรู้สึกว่าบริษัทไม่เห็นคุณค่าของการทำงานของเขาเลย และที่แย่ไปกว่านั้นหลายต่อหลายครั้งพนักงานเองอาจจะรู้สึกว่าการโปรโมตพนักงานนั้นไม่ยุติธรรม และเขาไม่มีโอกาสเติบโตกับบริษัทนี้ ด้วยสิ่งที่กล่าวมาเช่นนี้ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมการทำงานนั้นไม่ได้ดีเลย
การสนับสนุนให้พนักงานเติบโตในองค์กรนั้นไม่ได้แค่ช่วยในเรื่องของ engagement พนักงานแต่ยังช่วยในเรื่องของ retention อีกด้วย เพราะพนักงานที่รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ส่งเสริมการเติบโตให้กับพวกเขา พวกเขาย่อมอยากที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเห็นคุณค่าและให้โอกาสเติบโตของพนักงานนั้นทำได้หลายทางมาก ทั้งการชมเชยพนักงาน การให้รางวัล การขึ้นเงินเดือนอย่างยุติธรรม การส่งพนักงานไปอบรมเทรนนิ่งใหม่ ๆ เสมอ ทุกสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ย่อมทำให้พนักงานแฮปปี้ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
ถ้าคุณอยากที่จะสร้างทีมที่เต็มไปด้วยคนเก่ง อย่าลืมว่าปัจจัยสำคัญคงไม่ใช่เรื่องของตัวเงินเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป การทำสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีด้วยย่อมทำให้พวกเขาอยากที่จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับบริษัท คุณต้องให้ในสิ่งที่พวกเขาหาได้ยากจากที่อื่น และนั่นคือที่ที่พวกเขาทำงานอยู่ สังคมที่พวกเขาจะได้พบเจอทุกวันนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : www.empeo.com/blog เกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กร
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์
Copyright All Reseve 2022 Cooperative Technology Transfer and Development Office
Picture Icons & Symbols จากเว็บไซต์ Pixabay.com, Freepik.com, Flation.com, Canva.com