ในยุค COVID-19 คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทุกเพศทุกวัยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์กันแทบทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นเรียนออนไลน์ ประชุมออนไลน์ ช็อปปิงออนไลน์ แชทไลน์ ผ่านทางคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งมีแสงสีฟ้าออกมาจากหน้าจอของอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการรู้จักแสงสีฟ้าและดูแลป้องกันให้ถูกวิธีจะช่วยให้ห่างไกลจากโรคตาที่ไม่คาดคิด
แสงที่มนุษย์ทุกคนสามารถมองเห็นได้อยู่ในช่วงแสงสีขาว ซึ่งแสงขาวแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ซึ่งแต่ละสีมีความยาวคลื่นและพลังงานแตกต่างกัน แสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400 – 700 nm โดยแสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วงประมาณ 400 – 500 nm ซึ่งแสงสีฟ้าเป็นแสงที่มีพลังงานสูงใกล้เคียงรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) อีกด้วย
ในชีวิตประจำวันการหลบเลี่ยงจากแสงสีฟ้าอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแสงสีฟ้ามีทั้งเกิดจากแหล่งพลังงานธรรมชาติ และจากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ แต่จะมีปริมาณความเข้มข้นของแสงสีฟ้าแตกต่างกันไป ได้แก่
ในแต่ละวันเราสามารถเจอแสงสีฟ้าได้ตลอดเวลา ทั้งจากแสงแดดตามธรรมชาติและจากแหล่งกำเนิดแสงต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ความเป็นจริงผลกระทบจากแสงสีฟ้าต่อร่างกายมีทั้งผลดีและผลเสียหากใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่เหมาะสม
แว่นกรองแสงสีฟ้าช่วยลดแสงสีฟ้าเข้าสู่ดวงตาได้ แต่อาจไม่ได้มีความจำเป็นที่สุด เพราะแสงทุกคลื่นสีก็มีอันตรายต่อดวงตาเช่นกัน การทดสอบแว่นกรองแสงสีฟ้าทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถมองแล้วรู้ได้เลยว่ากรองแสงสีฟ้าได้จริงหรือไม่ ซึ่งการพิสูจน์จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะและไม่สามารถหาได้โดยทั่วไป ดังนั้นเพียงแค่การจัดสภาพแวดล้อมและปรับพฤติกรรมการใช้สายตาอย่างเหมาะสมก็สามารถช่วยป้องกันอันตรายและช่วยรักษาสุขภาพตาของเราได้
แม้จะมีการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายรายงานการวิจัยยืนยันภัยอันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue Light Hazard) ที่มีต่อดวงตาส่วนต่าง ๆ แต่ระดับความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปริมาณหรือความเข้มของแสงสีฟ้าที่ดวงตาได้รับ ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดแสง หรือระยะเวลาที่ได้รับแสงสีฟ้า อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่า การได้รับแสงสีฟ้าในการใช้งานปกติในชีวิตประจำวันจะทำให้เกิดการทำลายดวงตาที่รุนแรงและถาวรหรือถึงขั้นตาบอด
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร 1719
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์
Copyright All Reseve 2022 Cooperative Technology Transfer and Development Office
Picture Icons & Symbols จากเว็บไซต์ Pixabay.com, Freepik.com, Flation.com, Canva.com