ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง มักทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขัง หรือมีการเอ่อล้นตลิ่งของน้ำคลองหรือจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่จะตามมาก็คือ การระบาดของโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ เพราะแหล่งน้ำขังส่วนใหญ่จะเป็นที่ที่เชื้อโรคเพาะพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
การมีความรู้ที่ทำให้เราสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจะช่วยให้เราไม่ต้องเจ็บป่วย หรือหากเกิดอาการจะได้รู้เท่าทันและรีบไปพบแพทย์ ส่วนโรคที่มักระบาดในช่วงหน้าฝน มี 6 กลุ่มโรค ที่ควรระวัง ดังนี้
1.โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม)
อาการ : มีไข้ มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
การป้องกัน :
2.โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ)
อาการ : ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร หรือมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง
การป้องกัน :
3.โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
อาการ : มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หรือหลัง บางรายอาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง และปัสสาวะน้อย
การป้องกัน :
4.โรคน้ำกัดเท้า
อาการ : คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผิวหนังอักเสบบวมแดงเป็นผื่นพุพอง หรือมีลักษณะเท้าเปื่อยและเป็นหนอง
การป้องกัน :
5.โรคตาแดง
อาการ : มีอาการระคายเคืองตา ตาแดง หนังตาบวม ตาสู้แสงไม่ได้ หรือมีน้ำตาไหล
การป้องกัน :
6.โรคไข้เลือดออก
อาการ : มีไข้สูงลอย (อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติตลอด 24 ชม. โดยอุณหภูมิที่สูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวันมีความแตกต่างกัน ไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส) ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรืออาจมีเลือดออกตามไรฟัน
การป้องกัน :
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก :
นายแพทย์อาจ พรวรนันท์
แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรม
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์
Copyright All Reseve 2022 Cooperative Technology Transfer and Development Office
Picture Icons & Symbols จากเว็บไซต์ Pixabay.com, Freepik.com, Flation.com, Canva.com